เวลาละหมาด / กิบลัต: ที่ถูกต้องและฟรี
*** เวลาละหมาด / กิบลัต: ที่ถูกต้องและฟรี ***
ละหมาด (มาจากคำว่า นมาซ เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย) หมายถึง การประกอบกิจบูชาสักการะอัลลอหฺ ด้วยการอ่านบทสรรเสริญ และการวิงวอน ในอาการต่าง ๆ เช่น ยืน ก้ม กราบ และนั่ง ภาษาอาหรับเรียกว่า ศอลาต ภาษามลายูว่า "sembahyang" ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า sembah (บูชา) และ yang (พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า "ซือมาแย" และภาษาไทยถิ่นใต้ว่า "มาหยัง"
--> รากศัพท์
คำว่า"ละหมาด" ในภาษาอาหรับคือ ศอลาต (Salah, صلاة) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด (ص) , ลาม (ل) , และวาว (و) ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด
--> เงื่อนไขของการละหมาด
ผู้ละหมาดต้องนับถือศาสนาอิสลาม
มีเจตนาแน่วแน่ (นียะหฺ)
หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของเมกกะ
การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน)
การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ)
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่
--> ชนิดของการละหมาด
ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย
ย่ำรุ่ง(ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 - 6 โมงเช้า
บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่ายโมงกว่าๆ
เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น
พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่าๆ
กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 2 ทุ่มเป็นต้นไป
ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย
ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในมัซฮับซุนนีย์เรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ
ดาวน์โหลดและแนะนำโปรแกรมนี้ให้เพื่อนและครอบครัวของคุณ
- ติดตามเราเมื่อ:
http://www.facebook.com/muslimtoolbox
http://www.twitter.com/muslimtoolbox
https://plus.google.com/u/0/117058153069181744965/posts